รู้หรือไม่?? ทานแคลเซียมอย่างไรให้พอดี
ร่ายกายของเรานั้นต้องการแคลเซียม 800-1,500 มิลลิกรัมต่อวัน (โดยทั่วไปเด็ก 3–10 ขวบควรได้รับแคลเซียมประมาณ 800 มิลลิกรัมต่อวัน วัยรุ่นและผู้ใหญ่ 800–1,000 มิลลิกรัมต่อวัน สตรีมีครรภ์และคุณแม่ที่ให้นมบุตรควรได้รับแคลเซียมเพิ่มขึ้นคือ 1,200 มิลลิกรัมต่อวัน ในผู้สูงอายุ 1,500 มิลลิกรัม) แต่การใช้ยาเม็ดเสริมแคลเซียมมากเกินไปนั้น ซึ่งในระยะยาวอาจจะส่งผลเสียต่อรางกาย อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และเกิดภาวะนิ่วในไตได้
ดังนั้นเราควรทานแคลเซียมในปริมาณที่เหมาะสม และควรรู้หลักการทำงาน ข้อควรระวังไว้เพื่อสุขภาพที่ดีของร่างกายสูงสุด
แคลเซียมรูปแบบไหนดีล่ะ?
โดยทั่วไปแคลเซียมที่รู้จักกันมี 2 แบบ
1. แคลเซียมคาร์บอเนต – ถูกดูดซึมได้ดีที่สุดสำหรับผู้ที่มีสุขภาพปกติ และผู้ที่มีปัญหาการย่อยนม เพราะแคลเซียมคาร์บอเนตจะไม่แตกตัวเป็นอิออน
2. แคลเซียมอะซิเตท – มีประโยชน์สำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ที่มีภาวะฟอสเฟตในเลือดสูง เพราะการรักษาจะทานทานแคลเซียมเพื่อช่วยออกฤทธิ์จับฟอสเฟตในอาหารไม่ให้ฟอสเฟตถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย และผู้ป่วยควรทานแคลเซียมพร้อมอาหารถึงจะได้ผลอย่างดี
การทานแคลเซียมร่วมกับวิตามินดี วิตามินดีจะช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมได้เพิ่มมากขึ้น (Oskept)
แคลเซียม ทานเวลาไหนดีที่สุด?
ก่อนทานอาหาร 1-2 ชั่วโมง สำหรับผู้ที่ร่างกายปกติ ช่วงนี้กระเพาะของเราจะว่าง และมีความเป็นกรดน้อยที่สุด การดูดซึมจะมีประสิทธิภาพสูง
สิ่งที่ไม่ควรทำในการทานแคลเซียม
1. ไม่ควรทานพร้อมอาหารจำพวกรำข้าว / ธัญพืช / ยอดผักที่มีออกซาเลตสูง เพราะอาจไปลดการดูดซึมของแคลเซียมได้
2. ไม่ควรทานร่วมกับยาลดกรด เพราะยาพวกนี้ทำให้ทางเดินอาหารมีความเป็นด่างมากขึ้น ส่งผลให้ไปเร่งการดูดซึมแคลเซียม อาจทำให้เกิดโรค Milk-alkali syndrome ที่มีอาการระบบประสาทสับสน แต่อย่างไรก็ตามโรคนี้พบน้อยมาก
3. ไม่ควรทานแคลเซียมสูงเกิน ติดต่อเป็นเวลายาวนาน เพราะจะส่งผลให้ระดับแคลเซียมในเลือดสูงเกินไป อาจเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และโรคนิ่วในไต
กาแฟกับแคลเซียม ขอให้เลี่ยงกินแคลเซียมร่วมกับกาแฟ เพราะกาแฟจะไปยับยั้งการดูดซึมแคลเซียม นอกจากนั้นยังไปดึงแคลเซียมออกจากกระดูกอีกด้วย + นมสด (ไม่ใช่นมถั่วเหลือง) ก็ไม่ควรกินกับแคลเซียม จะให้ไม่ดูดซึมเช่นกัน กาแฟ
4. การทานแคลเซียมในรูปเกลือ Chloride หรือ Gluconate อาจทำให้ระคายเคืองทางเดินอาหาร
5. การทานแคลเซียมในรูปเกลือ Citrate หรือ Lactate อาจมีการดูดซึมแร่ธาตุอะลูมิเนียม ทำให้เกิดพิษต่อร่างกายได้
สรุปแล้วการรับประทานแคลเซียมที่ถูกต้อง เราควรทานแร่ธาตุอื่นๆ ที่จำเป็นร่วมด้วย เช่น แมกนีเซียม สังกะสี แมงกานีส ทองแดง ร่างกายถึงจะได้รับประโยชน์สูงสุด พร้อมๆกับออกกำลังกายไปด้วย